ดูบทความ
ดูบทความรู้จักโรคสมองติดยา
รู้จักโรคสมองติดยา
การติดยาเสพติดนั้นเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเริ่มจากการใช้ยาเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มจากการใช้ยาเป็นครั้งคราวไปสู่การใช้ยาถี่ขึ้นจนต้องใช้ทุกวันและวันละหลายครั้ง การใช้ยาเสพติดจะมีผลต่อสมอง 2 ส่วน คือ
สมองส่วนนอก หรือสมองส่วนคิด (Cerebral Cortex) จะทำหน้าที่จดจำ คิดจินตนาการและตัดสินใจ และสมองส่วนที่อยู่ชั้นในหรือก้านสมอง (Brain Stem) ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึก
ในคนปกติสมองส่วนคิดจะทำหน้าที่ควบคุมสมองส่วนความรู้สึก เช่น เมื่อเกิดอาการหิวอาหารขึ้น สมองส่วนคิดจะคอยควบคุมว่าเวลานั้นเป็นเวลาหรือสถานที่ที่เหมาะสมกับการรับประทานหรือไม่ หากเป็นช่วงเวลาหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสมความต้องการรับประทานอาหารจะถูกระงับไว้ ทำให้คนปกติสามารถใช้สติสัมปชัญญะควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก และความอยากต่าง ๆ ได้ เมื่อมีการเสพยาเสพติดจนกระทั่งเกิดการติดยาขึ้นจะเกิดพยาธิสภาพขึ้นในสมอง ทำให้การทำงานของสมองเปลี่ยนไป ผลทำให้สมองส่วนความรู้สึกมีอิทธิพลเหนือสมองส่วนคิด เมื่อมีอาการอยากยาหรือเสี้ยนยาเกิดขึ้นสมองส่วนคิดจะไม่สามารถยับยั้งสมองส่วนความรู้สึกผู้ติดยาจะต้องดิ้นรนแสวงหายาเสพติดมาเสพให้ได้ ทำให้สมองของผู้ติดยาที่เข้ารับการบำบัดรักษามีลักษณะฝ่อมากกว่าปกติและจะกลับสู่สภาพใกล้เคียงกับปกติภายหลังการบำบัด
แม้การติดยาจะเป็นโรคทางสมองโรคหนึ่ง แต่การติดยาไม่ใช่สาเหตุจากสมองเพียงอย่างเดียว ยังเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของความคิด อารมณ์และพฤติกรรม ลักษณะของผู้ติดยามี 2 ลักษณะ คือ
1.ผู้ติดยาจะมีความคิดในแง่ดีต่อการเสพยาเสพติด จะคิดถึงยาเสพติด เมื่อมีความรู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยว
2.ผู้ติดยาจะมีบุคลิกของการพึ่งพาผู้อื่น ขาดความพยายาม เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย และไม่ยอมรับค่านิยมของสังคม เป็นต้น
10 กันยายน 2562
ผู้ชม 42491 ครั้ง
แสดงความคิดเห็น